Dinosaur Siamensis : ตะลุยเส้นทางผ่ามิติทะลุโลกล้านปี เส้นทางที่ 1 : Rise up the valley (แสงแรกแห่งขุนเขา)

เส้นทางท่องเที่ยว Dinosaur Siamensis : ตะลุยเส้นทางผ่ามิติทะลุโลกล้านปี 
เส้นทางที่ 1 : Rise up the valley (แสงแรกแห่งขุนเขา)
เชื่อมโยงจังหวัด ขอนแก่น - กาฬสินธุ์ - (สกลนคร) - นครพนม
ด้วยแนวคิดการเชื่อมโยงและการพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์และเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเกี่ยวกับเรื่องไดโนเสาร์ บรรพชีวินวิทยาและธรณีวิทยา

1. Phuwiang rise valley : ภูเวียงหุบเขาแห่งการเริ่มต้น จ.ขอนแก่น

จุดเริ่มต้นของเรื่องราวการเดินทางค้นพบ ค้นคว้า ค้นหา และเป็นจุดกำเนิดของเรื่องราวของไดโนเสาร์และบรรพชีวินวิทยา แต่เดิมคืออ.ภูเวียง แต่ปัจจุบันมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นอ.เวียงเก่า

ในหุบเขาที่ประดุจเป็นหุบเขาที่เป็นจุดเริ่มต้นและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักบรรพชีวินวิทยา และนักผจญภัยทุกท่านหากต้องการพักกายพักใจจากอาการเหนื่อยล้าจากการทำงานการมาท่องเที่ยวและพักผ่อนที่นี่

ในหุบเขาแห่งการเริ่มต้นแห่งนี้ อาจช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจและมีแรงใจกลับไปสู้ต่อไป กับ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ - อุทยานแห่งชาติภูเวียง - พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาม.ขอนแก่น

สนุกและตื่นเต้นไปกับไดโนเสาร์ไทย 5 สายพันธุ์ที่ค้นพบและยืนยันแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก ได้แก่

1. สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส

2. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่

3. สยามโมซอรัส สุธีธรนิ

4. ภูเวียงเวเนเตอร์  แย้มนิยมมิ

5. กินรีมิมัส  ขอนแก่นเอนซิส 

 

2. Sahasakhan Dinosoul city : สหัสขันธ์ ดินแดนบรรพกาล จิตวิญญาณ 100 ล้านปี จ.กาฬสินธุ์

ดินแดนบรรพกาลที่หลับไหลมาอย่างยาวนานตลอดระยะเวลากาลเคลื่อนผ่านของแผ่นทวีปยูเรเชีย ถูกเชื่อมโยงด้วยนิมิตของหลวงปู่หา ณ วัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์

นำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่ของซากไดโนเสาที่สมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ เวลานี้ของ "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่"

ด้วยความร่วมมือของภาคประชาชน ภาครัฐ นักวิชาการ ภาคเอกชน และศาสนานำไปสู่กิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจ

หรือจริงๆ แล้วประตูมิติ/ประตูวิญญาณในอดีตจะอยู่ที่นี่ก็ไม่แน่เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้คนที่เมืองนี้จึงยังรักษาความอุดมสมบูรณ์ ความเงียบสงบ และเรื่องราวประหนึ่งว่าไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่

และรอคอยวันเวลาที่ประตูมิติจะเปิดออกมาอีกครั้งหนึ่ง หากเดินทางมาที่นี่สามารถมาเยี่ยมชม ชุมชนท่องเที่ยวสหัสขันธ์ไดโนโร้ด - ซากไดโนเสาร์วัดสักกะวัน - พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สหัสขันธ์ ฯลฯ

และที่พิพิธภัณฑ์นี้เอง ยังมีห้องแลบ (ห้องปฏิบัติการ) ที่ยังคงรอคอยการค้นคว้าและพิสูจน์ซากไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบและนำมาเก็บรักษาไว้ที่นี่นี่เอง

3. Phufak Predator wild area : ภูแฝก อาณาเขตนักล่า

พื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ในปัจจุบัน ก็คือพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกันกับในอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อน

และนี่คือสถานที่แห่งนี้เองคือสถานที่สุดอันตรายและลึกลับที่สุดแห่งหนึ่งในมหายุคมีโสโซอิค

กับการหายไปของไดโนเสาร์กินพืชหลายชนิด และร่องรอยของนักล่าที่สามารถอำพรางตัวเองได้อย่างไร้ร่องรอย

แต่ก็ยังฝากร่องรอยเอาไว้เพื่อข่มขู่ไม่ให้นักล่าตัวอื่นย่างกรายเข้ามา ผ่านกาลเวลามาหลายร้อยล้านปี

ถึงเวลาหรือยังที่นักผจญภัยอย่างเราต้องเดินทางไปพิสูจน์สถานที่ลึกลับแห่งนี้

 

4. Phunoi Jurassics Society : ภูน้อย จุดศูนย์กลางยุคจูแรสสิก

จากภูเขาอันอ้างว้าง สู่การค้นพบอย่างบังเอิญที่เรียกได้ว่าเกินกว่าจินตนาการ ขุมทรัพย์อันล้ำค่าของนักบรรพชีวินวิทยา หรือนักล่าไดโนเสาร์

การค้นพบซากไดโนเสาร์จำนวนมาก ดึงดูดให้นักผจญภัยต้องการที่จะเดินทางมุ่งหน้าไปสัมผัสกับสิ่งที่เรียกว่า "ของแทร่" 

โดยเฉพาะการค้นพบซากไดโนเสาร์ในยุคจูแรสสิกจำนวนมาก เช่น สเตโกซอรัส และไดโนเสาร์ที่สามารถระบุเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลกและของไทยในยุคจูแรสสิก

คือ "มินิโมเคอเซอร์ ภูน้อยเอนซิส" และถือเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวใหม่ตัวที่ 13 และเป็นสายพันธุ์ไทยตัวแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์อีกด้วย

ปัจจุบัน ภูน้อยยังไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ แต่สามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมยังศูนย์วิจัยสนามได้

5. Phunamchan 199 Million years Treasure Lagoon : ขุมทรัพย์นักล่า 199 ล้านปี

ดินแดนที่อาจจะดูแห้งแล้งในปัจจุบัน แต่ในอดีตที่นี่คือแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตหลากชนิด

จากการค้นพบซากปลาโบราณสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งสามารถพิสูจน์เป็นายพันธุ์ใหม่ของโลกและสายพันธุ์ไทยได้อย่างหลายหลายและเป็นจำนวนมาก

และแน่นอนนี่คือขุมสมบัติของนักล่าที่รอคอยเหยือมากินน้ำและกินอาหาร และนี่คือสวรรค์ของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่

ที่ชื่นชอบในการกินปลาอย่าง "สยามโมซอรัส  สุธีธรนิ" เช่นเดียวกัน 

จากข้อมูลทางวิชาการสามารถระบุได้ว่า Lagoon แห่งนี้มีอายุเฉลี่ยประมาณ 150 ล้านปี แต่เพื่อให้สามารถระบุว่าเป็นยุคจูแรสสิกอย่างชัดเจน

จึงกำหนดไว้ที่ 199 ล้านปี (ยุคจูแรสสิกประมาณ 199 - 145 ล้านปี (+-5 ล้านปี)) นั่นเอง

6. Tahuten Tiny safety zone : เขตปลอดภัยไดโนจิ๋ว จ.นครพนม

ท่าอุเทนถือเป็นพื้นที่สำคัญที่มีการค้นพบการมีอยู่ของไดโนเสาร์ในอดีตบนพื้นที่ประเทศไทย "รอยตีนไดโนเสาร์ขนาดเล็ก"ในท่าอุเทนแห่งนี้ถือเป็นมรดกของประเทศที่สำคัญ

ในอดีตสันนิษฐานว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ พบรอยตีนไดโนเสาร์ประเภทนกกระจอกเทศจำนวนมาก เดินหากินอยู่บริเวณนี้ แต่ไม่พบรอยตีนของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หรือรอยตีนนักล่าใดๆ

ดังนั้น จะสามารถอนุมานได้หรือเปล่านะว่าพื้นที่แห่งนี้คือ ดินแดนยูโทเปีย พื้นที่ปลอดภัยขนาดใหญ่ที่ไม่มีไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ย่างกลายเข้ามาได้

ดังนั้น พื้นที่นี้จึงมีรอยตีนของไดโนเสาร์ขนาดเล็กฝากเอาไว้เป็นร่องรอยหากินอย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลในระหว่างออกหากิน 

สามารถติดตามวารสารเส้นทางท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ >>> วารสาร Dinosaur Siamensis ตะลุยเส้นทางผ่ามิติทะลุโลกล้านปี (anyflip.com)