การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวที่ 13 ของประเทศไทย

       เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ในประเทศไทย มีผลวิจัยล่าสุดของ ดร.ศิตะ มานิตกุล จากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สิรินธร และฝั่งฝรั่งเศส โดยศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (Laboratoire de Géologie de l’Ecole Normale Supérieure, CNRS) พบ “ มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส ” เจ้าของฉายา นักวิ่งตัวจิ๋วจากแหล่งภูน้อย เพิ่งตีพิมพ์ในวารสารเมื่อ 13 กรกฎาคม2566 ถือเป็นการพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก เป็นตัวที่ 13 ของประเทศไทย มีอายุประมาณ 150 ล้านปี พบในหมวดหินภูกระดึง ยุคจูแรสสิกตอนปลาย ณ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

       ที่สำคัญเป็นการค้นพบโครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดตัวหนึ่งของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความน่าสนใจของแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ บนพื้นที่ขนาด 1,200 ตารางเมตร นักวิจัยได้ค้นพบความสมบูรณ์ของตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” เป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดตัวหนึ่งของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีการพบร่วมกับซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังอีกหลากหลายชนิดกว่า 5,000 ชิ้น ทั้งปลาฉลามน้ำจืด ปลาปอด เต่า จระเข้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานบินได้ หอยน้ำจืด และไม้กลายเป็นหิน รวมทั้งไดโนเสาร์ทั้งสายพันธุ์กินพืช-กินเนื้อ ซึ่งเป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลกมากถึง 8 สายพันธุ์ ทำให้ภูน้อยได้รับการขนานนามว่า “จูแรสซิกพาร์ค เมืองไทย” ที่มีการพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       สำหรับการค้นพบมินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส ถือว่าเป็นการค้นพบไดโนเสาร์ตัวที่ 13 ของประเทศไทย และถูกค้นพบฟอสซิลชิ้นส่วนกระดูกลำตัว ขา และหาง ที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งพบในชั้นหินหมวดหินภูกระดึง กลุ่มหินโคราช ที่ภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดย ดร. ศิตะ มานิตกุล ผู้ค้นพบฟอสซิล และนักวิจัยจากศูนย์วิจัย และการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเมื่อได้รับการวิจัยพบว่าเป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ และเป็นไดโนเสาร์ตัวแรกในหมวดหินภูกระดึง จึงได้รับการตั้งชื่อย่างเป็นทางการว่า “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยแอนซิส” ที่มาจากคำว่า “มินิมัส” ภาษาละตินแปลว่า ขนาดเล็ก “เคอร์เซอร์” ภาษาละตินแปลว่า นักวิ่ง เมื่อรวมกันแล้วก็จะได้ความหมายว่า “นักวิ่งตัวเล็ก หรือนักวิ่งตัวจิ๋ว” และคำว่า “ภูน้อยเอนซิส” มาจากคำว่า “ภูน้อย” แหล่งที่ฟอสซิลถูกค้นพบ และคำว่า “เอนซิส” มาจากภาษาละติน -ensis ที่แปลว่า พบที่ เมื่อรวมกันแล้วก็จะได้ความหมายว่า “พบที่ภูน้อย” และเมื่อแปลความหมายของชื่อทั้งหมด ก็จะได้คำว่า “นักวิ่งตัวจิ๋วจากแหล่งผู้น้อย” ที่เป็นฉายาของมินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิสนั่นเอง

ข่าวสารและกิจกรรมเพิ่มเติม